วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความปวดกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความปวดกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความปวดกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ความปวดเป็นความรู้สึกที่มีอิทธิพลอย่างมากในการทำลายความสุข รวมทั้งรบกวน การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร โดยความปวดอาจเกิดขึ้นเป็น ครั้งคราวหรือต่อเนื่องตลอดเวลา ความปวดเกิดร่วมกับผู้ป่วยไข้ด้วยโรคมะเร็ง ได้ทุกระยะ โดยเฉพาะเมื่อโรคมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจาย แต่ก็มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวนไม่น้อยที่ พบว่าไม่เคยมีความปวดเกิดขึ้น โรคมะเร็งไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิด ความปวดเท่านั้น
ในนผู้ป่วยโรค มะเร็งความปวดอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการบำบัด โรคมะเร็ง หรือเป็นความปวดชนิดธรรมดาที่เกิดขึ้นกับบุคคลธรรมดาทั่วไป ความ ปวดจากโรคมะเร็งจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นกับขนิดของโรคมะเร็ง อวัยวะที่เกิดโรค รวมทั้งสภาพ ร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยโดยเฉพาะเมื่อร่างกายอ่อนล้า มีความกลัว ซึม เศร้า หรือวิตกกังวลเกิดขึ้น จะมีส่วนทำให้ความปวดที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น
ผู้ป่วยที่มีความ ปวดเท่านั้นที่จะรู้สึกถึงลักษณะและระดับความรุนแรงของความปวดที่เกิด ขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ถูกกระทบจนไม่อาจกระทำได้ รวมทั้งสภาพทางด้านจิตใจที่ทรุดลง อันเป็นผลจากความปวด ดังนั้น เมื่อเกิดความปวดขึ้นต้องไม่ตื่นตระหนก แต่อย่ารีรอ และไม่ต้องเกรงใจให้แจ้งแพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแล รับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับความปวดอย่างละเอียดลออทันทีที่มีโอกาส ซึ่งจะเป็นวิธีที่ ี่ช่วยทำให้การบำบัดความปวดที่เกิดขึ้นได้ผลมากที่สุด อย่าเบื่อหรือรำคาญกับคำถามมาก มาย คำถามบางข้ออาจซ้ำซาก หรือดูเหมือนไร้สาระ หากยังไม่พร้อมให้แจ้งแพทย์ หรือพยาบาล ผู้ซักถาม โปรดระลึกไว้เสมอว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากผู้ป่วยที่ปวดมีความ ละเอียดมากเท่าใด จะเป็นแนวทางชี้นำในการเลือกวิธีบำบัดได้ดีที่สุด คำถามที่จะถูก ไต่ถามจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การบำบัดเสมอ จะประกอบด้วย
* รู้สึกปวดตั้งแต่เมื่อไร?
* ปวดตรงบริเวณไหนบ้าง?
* ลักษณะปวดเป็นเช่นไร?(ปวดอื้อ แปล๊บ ปวดแสบปวดร้อนเหมือนเข็มแทง ฯลฯ)
* ระดับความรุนแรง(โดยใช้มาตราวัด อาจเป็นตัวเลข 0-5 ซึ่งผู้ทำการบำบัด จะอธิบายถึงวิธีใช้อย่างละเอียด)
* ช่วงเวลาความถี่ของการเกิดความปวด
* ปัจจัยที่ทำให้ความปวดลดลงหรือเพิ่มขึ้น
* วิธีบำบัดที่เคยได้รับมาก่อน รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
* ชนิด ขนาดและวิธีการใช้ยาแก้ปวดที่ผ่านมา รวมทั้งผลลัพธ์
การบำบัดความปวดจากโรคมะเร็งมีหลากหลายวิธี โดยทั่วไปยาแก้ปวดหนึ่งชนิด หรือมากกว่าจะถูกนำมาใช้บำบัดหรือร่วมกับวิธีการบำบัดอื่น ยาแก้ปวดในรูปแบบ รับประทาน ปิดบนผิวหนัง อมใต้ลิ้น หรือเหน็บทางทวารหนักมีคุณค่าในการแก้ปวด ได้เท่ากับยาฉีดในทุกรูปแบบ ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา แม้ความปวด จะไม่เกิดขึ้นอีก หากความปวดที่เคยเป็นอยู่เป็นชนิดที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ควรใช้ยาโดยพลการ หรือจัดหายาแก้ปวดมาใช้เพิ่มขึ้น โดยคำแนะนำจากผู้อื่น ที่ไม่ใช่แพทย์ผู้ให้การบำบัด
ยาแก้ปวดทุกชนิดอาจ ก่อให้ เกิดอาการข้างเคียงได้ อาทิเช่น ปวดศีรษะ คอแห้ง งุนงง ง่วงซึม สับสน ท้องผูก คลื่นไส้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบแจ้ง ผู้ให้การรักษาบันทึกทุกสิ่ง เกี่ยวกับความปวดที่เป็นอยู่ หลังจาก เริ่มได้รับการบำบัด สำหรับไว้แจ้งแก่ผู้ให้การบำบัด โดยเฉพาะเมื่อ มีความปวด เกิดขึ้นบริเวณใหม่ของร่างกาย หรือความปวดเกิดขึ้นตลอดเวลา ที่ต้องรับประทานยา แก้ปวดขนานต่อไป
รวมทั้งอาการที่ผิด ปกติ ยาแก้ปวดหลายชนิด โดยเฉพาะที่ใช้บำบัด ชนิดความปวดชนิด รุนแรง ร่างกายอาจเกิดภาวะชินต่อยาชนิดนั้นได้ ถ้าต้องรับยา อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ยาวนานและเมื่อหยุดยาทันทีอาจก่อให้เกิดอาการ ขาดยาขึ้น ซึ่งอาการเช่นนั้นไม่ใช่ สภาพของการติดยา ถึงแม้คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ อาจมีฤทธิ์ทางด้านเสพติด การใช้อย่างถูกวิธีโดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะไม่ทำให้เกิดภาวะติดยาขึ้น และไม่ควรกลัวว่าการใช้ยาแก้ปวดตั้งแต่ ความปวด ยังไม่รุนแรง จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น หรือเกิดภาวะดื้อยา ไม่มียาแก้ปวดใช้เมื่อความ ปวดรุนแรงขึ้นหรือยาแก้ปวดควรใช้ต่อเมื่อเข้าสู่วาระสุดท้ายเท่านั้นอย่า ตื่นตระหนก
ถ้า ป่วยด้วยโรคมะเร็ง และ มีความปวดเกิดขึ้น รีบแจ้งแพทย์ที่ทำการรักษา ปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีความปวด มากกว่าร้อยละ 80 ความปวดที่เกิดขึ้นสามารถควบคุม ได้หมด หรืออยู่ในระดับที่ผู้ป่วยพอใจ โดยการให้ยาแก้ปวดชนิดรับประทานอมใต้ลิ้น ปิดบนผิวหนัง หรือเหน็บทางทวารหนักเท่านั้น
 

 
 
• --------------------------------------------------------------- •

ศัลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง

ศัลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง

ศัลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง
โดยทั่วไปแล้วคำว่า"ศัลยกรรม"หมายถึง การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด ดังนั้น ศํลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง จึงหมายถึง การรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดที่ ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นมีหลายลักษณะ แบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดได้ ดังนี้

1. การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Biopsy) เป็น กาตัดหรือขลิบชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้องอก หรืออวัยวะที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อการพิสูจน์และ วินิจฉัยโรค วิธีนี้จะสามารถยืนยันได้ ว่าเนื้องอก หรืออวัยวะนั้น ๆ เป็นเนื้องอก ธรรมดา หรือ มะเร็ง การตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
ก. ตัดชิ้นเนื้อเพียงบางส่วน (Incisional Biopsy) วิธีนี้เลือกใช้ในกรณีที่เนื้องอก มีขนาดใหญ่มากหรือเป็นกลุ่มก้อน ทั้งนี้เพื่อนำผลพิสูจน์นั้นเป็นแนวทางในการวาง แผนการรักษาต่อไป
ข. ตัดเนื้องอกออกทั้งก้อน (Excisional Biopsy) ใช้ในกรณีที่ก้อนเนื้อดังกล่าว มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถตัดออกได้ทั้งก้อนและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง


2. การผ่าตัดเพื่อการรักษา ใช้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรก หรือ กรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่ โดยหวังผลในการรักษาคือ ให้ผู้ป่วยหายขาดเมื่อได้รับ การผ่าตัด


3. การผ่าตัดแบบการรักษาแบบประคับประคอง วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ที่โรคลุกลามมาก หรือกรณีที่ต้องการลดขนาดของก้อนมะเร็ง เพื่อการรักษาแบบผสมผสาน กับวิธีอื่น ต่อไป เช่น การฉายรังสี หรือ การให้ยาเคมีบำบัด เป็นต้น สำหรับวิธีนี้สามารถเพิ่ม คุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ คือ ลดความทุกข์ทรมานอันเกิดจากความ เจ็บปวด หรือแผลเน่าเหม็นได้

ยาเคมีบำบัดมะเร็ง

ยาเคมีบำบัดมะเร็ง

เป็นยาหรือสารเคมีที่ใข้ในการรักษามะเร็ง อาจให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียว หรือให้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ยาเคมีบำบัดเมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเซลมะเร็ง เเละทำลายเซลปกติบางส่วน ด้วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงขึ้น
ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิตเซลล์ทำให้ เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกันในการรักษา บางแผนการรักษาประกอบด้วยยาหลายชนิด ที่ให้ร่วมกัน 
 
 
อาการข้างเคียง ยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญ และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร, เส้นผม, เม็ดเลือด ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่าง การ ให้ยาแต่ละชุด เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาสร้างเซลล์ปกติขึ้นมาทดแทน 
 
อาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องปรึกษาแพทย์
1. มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก
2. มีผื่นหรืออาการแพ้
3. มีไข้ หนาวสั่น
4. ปวดมากบริเวณที่ฉีด
5. หายใจลำบาก
6. ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง
7. ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
1. คลื่นไส้อาเจียน
2. ผมร่วง
3. แผลในปาก
4. ปริมาณเม็ดเลือดลดลง





อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่ง อาการไม่พึงประสงค์จะขึ้นกับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา ของร่างกายผู้ได้รับยาเคมีบำบัดนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ ที่จะเกิด ขึ้นจากการได้รับยา เพื่อบรรเทาอาการให้น้อยลงหรืออาจพิจารณาปรับแผนการรักษา ถ้าเกิด มีอาการรุนแรง อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดไม่ได้หมายความว่า อาการของโรคมะเร็งเป็นมาก ขึ้น และความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของยาเคมีบำบัด ต่อ เซลล์มะเร็ง

โภชนาการกับโรคมะเร็ง

โภชนาการกับโรคมะเร็ง

โภชนาการกับโรคมะเร็ง
จากการศึกษาพบว่า อาหารอาจมีส่วนสัมพันธ์ กับการเกิดโรคมะเร็งได้ประมาณ 30-50% แต่ในขณะเดียวกันอาหารประเภทพืชผัก ผลไม้ ธัญพืช และ เครื่องเทศต่างๆ ก็มี คุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลัก โภชนาการ จึงเป็นหนทางหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้


อาหารที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง 
1.อาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะราสีเขียว-สีเหลือง
2.อาหารไขมันสูง
3.อาหารเค็มจัด ส่วนไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือ ดินประสิว 

http://cancerthai.blogspot.com/

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง





สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ


1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่


1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น


2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี



ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่สำคัญ มี 2 ข้อ
ข้อแรก คือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด
ข้อที่สอง คือ ได้แก่ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น




ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง มีดังนี้
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มี สารพิษ ชื่อ อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารเช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อ ไวรัสเอดส์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม ของอาหารเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณของแสงอุลตรา ไวโอเลต จำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้

• --------------------------------------------------------------- •

ข้อพึงปฏิบัติ 12 ประการเพื่อการป้องกันและลดการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็ง

ข้อพึงปฏิบัติ 12 ประการเพื่อการป้องกันและลดการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็ง
ข้อพึงปฏิบัติ 12 ประการเพื่อการป้องกันและลดการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็ง


5 ประการเพื่อการป้องกัน

1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
2.รับประทานอาหารที่มีกากมากเช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
3.รับประทานอาหารที่มีเบต้า- แคโรทีน และ ไวตามินเอ สูงเช่น ผัก ผลไม้ สีเขียว-เหลือง เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด
4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร
5. ควบคุมน้ำหนักตัว โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออก กำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้ พลังงานสูง จะช่วยป้องกันมะเร็ง เหล่านี้ได้

7 ประการเพื่อลดการเสี่ยง

1.ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้น อาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะสีเขียว-เหลือง จะมีสารอัลฟาทอกซินปนเปื้อนซึ่งอาจเป็น สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
2. ลดอาหารไขมัน อาหารไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่และต่อมลูกหมาก
3.ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง-ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท- ไนไตร์ท อาหารเหล่านี้ จะทำให้เสี่ยงต่อ มะเร็ง หลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4.ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯ จะทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ และเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งของท่อน้ำดีในตับ
5.หยุดหรือลดการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งปอด กล่องเสียง ฯลฯ การเคี้ยว ยาสูบจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอ
6.ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ดื่ม แอลกอฮอล์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ตับ ถ้าทั้งดื่มและสูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง และหลอดอาหาร
7. อย่าตากแดด ตากแดดจัดมากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งผิวหนัง
• --------------------------------------------------------------- •

http://cancerthai.blogspot.com/

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย
 
เพศหญิง
 
เพศชาย
 
1.
มะเร็งปากมดลูก
1.
มะเร็งตับ
2.
มะเร็งเต้านม
2.
มะเร็งปอด

หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งกับการรักษาโรคมะเร็ง

หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งกับการรักษาโรคมะเร็ง
ดร. ผ่องพรรณ ศิริพงษ์
หัวหน้างานวิจัยสมุนไพร กลุ่มงานวิจัยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ


ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของประชากรไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกๆปี ยารักษาโรคมะเร็งที่ใช้ในทางการแพทย์ ก็มีแต่ยาแผนปัจจุบันที่มีราคาแพง ซึ่งจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดทั้งในรูปยาสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบ อีกทั้งยังพบว่ามีผลข้างเคียงสูง ทางเลือกอีกทางหนึ่งของผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงหันมานิยมใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อนำมารักษาโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ สมุนไพรจากประเทศจีนชนิดหนึ่งซึ่งมีผู้นำมาเผยแพร่ประมาณ 30 ปีมาแล้วและปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้อยู่อย่างแพร่หลาย คือหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่ง หรือเรียกชื่อ
ภาษาจีนว่า เล่งจือเฉ้าหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdania loriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy อยู่ในวงศ์ Commelinaceae เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่ไม่ใช่พืชในวงศืหญ้าทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 7-10 ซ.ม. และอาจสูงได้ถึง 20 ซ.ม. ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ความยาวไม่เกิน 10 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อที่
ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกมีสีฟ้าปนม่วง ใบประดับกลม ยาวประมาณ 4 ม.ม. ร่วงง่าย เป็นพืชที่ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ดปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก
ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้หญ้าปักกิ่งรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและกำจัดพิษ โดยจะใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน (ลำต้นหรือใบ) ที่มีอายุ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก)
ประวัติความเป็นมาของการใช้หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งในประเทศไทย
หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนามีการนำเข้ามาและปลูกแพร่หลายในประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2527 มีผู้ป่วยมะเร็งดื่มน้ำคั้นสดจากหญ้าปักกิ่งเพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง พบว่าสามารถยืดชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันเพื่อลดผงข้างเคียงเนื่องจากการใช้ยาเคมีบำบัด และเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วย
โรคมะเร็งรายหนึ่งที่แพทย์บอกว่าจะมีชีวิตอยู่อีก 3 เดือน ขอให้นำผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้าน แต่เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านและดื่มน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง หลังจากนั้น 1 ปี ผู้ป่วยดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และกลับไปให้แพทย์คนเดิมตรวจผลจากผู้ป่วยรายนี้จึงทำให้เกิดการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของพืชชนิดนี้เกิดขึ้น
จุดประสงค์ของการใช้หญ้าปักกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ


1. การใช้หญ้าปักกิ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมีสรรพคุณว่า
- เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้น ลดความทุกข์ทรมาน บางรายมีอายุยืนยาวมากขึ้น
- เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด
2. การใช้ในผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็ง
- เมื่อผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ผู้ป่วยเป็นแผลเรื้อรัง แผลอักเสบมีหนองหรือน้ำเหลืองไหล เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าแผลแห้ง ไม่มีหนองและน้ำเหลือง


ผลการวิจัยศึกษาหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่ง
สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ :น้ำคั้นสดจากหญ้าปักกิ่ง มีสารกลัยโคสฟิงโคไลปิดส์ (จี 1 บี) มีชื่อทางเคมีว่า 1-β-O-D-glycopyranosyl-2-(2’-hydroxy-6’-ene-cosamide)-sphingosine (G1b) นอกจากนั้น ยังพบสารกลุ่มต่างๆได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน กลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์ และอะกลัยโคน(1-2)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา:
- สารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี 1 บี) แสดงฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อเซลล์มะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่(SW 120) โดยมีค่า ED50∠16 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (1-3)
- สารจี 1 บี แสดงผลปรับระบบภูมิคุ้มกัน (1-3)
- สารสกัดแอลกอฮอล์ของหญ้าปักกิ่งไม่ได้ช่วยยืดอายุ แต่ผลทางพยาธิวิทยาพบว่าสามารถลดความรุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนูได้ จึงคาดว่าสารสกัดดังกล่าวอาจใช้ป้องกันการเกิดมะเร็งได้ (1-3)
- สารสกัดหญ้าปักกิ่ง มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์ชนิดต่างๆ เช่นAFB1(4)
- สารสกัดหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase ซึ่งมีบทบาททำลายสารพิษที่
ก่อให้เกิดมะเร็ง(5-6)ความเป็นพิษ
- ความเป็นพิษเฉียบพลัน น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโตชีวเคมีในเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาว ค่า LD50 เมื่อให้โดยการป้อนในหนูขาวมากกว่า 120 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ซึ่งเทียบเท่า 300 เท่าของขนาดที่ใช้รักษาในคน จัดว่าค่อนข้างจะปลอดภัย(7)
- ความเป็นพิษเรื้อรัง พบว่า น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งขนาดที่ใช้รักษาในคน มีความปลอดภัยเพียงพอหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน(8)

ขนาดและวิธีใช้แบบดั้งเดิม
- ดื่มน้ำคั้น 2 ช้อนโต๊ะ (30 มิลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นก่อนอาหาร ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม ถ้าเป็นเด็กควรลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง
- ถ้าใช้สำหรับการปรับระบบภูมิคุ้มกัน จะรับประทานยาไม่เกิน 4-6 สัปดาห์ และควรหยุดยาดังนี้รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน หยุดยา 4-5 วันเช่นนี้จนกว่าครบกำหนด
วิธีเตรียม นำส่วนเหนือดินหรือทั้งต้น น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม หรือจำนวน 6 ต้น ล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และโขลกในครกที่สะอาดให้แหลก เติมน้ำสะอาด 4 ช้อนโต๊ะ (60 มิลลิลิตร)กรองผ่านผ้าขาวบางผลข้างเคียง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 0.5-1 องศาเซลเซียส

ข้อควรระวัง หากใช้เกินขนาด จะมีผลกดระบบภูมิคุ้มกัน
ข้อควรคำนึงในการดื่มน้ำคั้นหญ้าปักกิ่งสด
- หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรคลุมดิน ให้มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากดินมาที่ต้นและใบของ
หญ้าปักกิ่ง การนำหญ้าปักกิ่งมารับประทานสดต้องแน่ใจว่า ได้ล้างหลายครั้งจนสะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ เพราะถ้าล้างไม่สะอาดเพียงพอ เมื่อดื่มน้าคั้นสดจากหญ้าปักกิ่ง ก็จะเป็นการดื่มเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งย่อมมีภูมิต้านทานต่ำ จึงอาจจะเป็นอันตรายมากกว่าคนปกติ
- หญ้าปักกิ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายหญ้าอื่นๆหลายชนิด เช่น หญ้ามาเลเซีย ฯลฯ ซึ่งไม่มีประโยชน์ทางยาเคยมีผู้บริโภคที่ซื้อหญ้าปักกิ่งตามท้องตลาดมาบริโภคด้วยราคาแพงแต่ไม่ใช่ชนิดที่ต้องการดังนั้นก่อนจะซื้อมาบริโภคจะต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งที่ต้องการจริง
- หญ้าปักกิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วย ต้องเป็นต้นที่มีอายุที่เหมาะสมดังนี้ คือ หญ้าปักกิ่งที่ปลูกโดยการชำกิ่ง ต้องมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป ส่วนหญ้าปักกิ่งที่ปลุกด้วยการเพาะเมล็ด ต้องมีอายุมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป จากการศึกษาพบว่าหญ้าปักกิ่งที่มีอายุไม่ครบเวลาดังกล่าว จะไม่มีการสร้างสาร G1b ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ทางยาดังนั้นการซื้อหญ้าปักกิ่งมาบริโภคนั้น ต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งจริง เก็บเกี่ยวในขณะที่มีอายุครบเกณฑ์ที่กำหนดตามวิธีการเพาะชำนั้นๆ จึงจะได้คุณประโยชน์สูงสุดดังประสงค์ มิฉะนั้นก็จะเป็นการบริโภคหญ้าดังกล่าว
ที่สูญเปล่า ไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการและอาจจะได้รับพิษ ถ้าในกรณีเลือกสมุนไพรชนิดอื่นมาบริโภคภาวะปัจจุบันของการพัฒนาหญ้าปักกิ่งที่ใช้เป็นยา
ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม ได้นำเอาหญ้าปักกิ่งมาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยยาทุก 2 เม็ด มีคุณค่าเท่ากับต้นหญ้าปักกิ่ง จำนวน 3 ต้น โดยกำหนดขนาดรับประทาน ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย
โดยมีระยะเวลาการรับประทานขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้ยาดังนี้ คือ
1. ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือยาเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง จะรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน
2. ใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการกลับเป็นซ้ำอีก หลังจากการรักษาแล้ว โดยรับประทาน 7 วันหยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกันประมาณ 1 ปี และตรวจมะเร็งปีละ 2 ครั้ง
3. ใช้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง รับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานไม่เกิน 6-8 สัปดาห์ โดยใช้เแพาะช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเช่น ขณะติดเชื้อไวรัส

เอกสารอ้างอิง
1. วีณา จิรัจฉริยากูล สารต้านมะเร็งจากหญ้าปักกิ่ง จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2542; 16(3): 10-13.
2. วีณา จิรัจฉริยากูล รายงานผลความก้าวหน้าของโครงการวิจัยหญ้าปักกิ่ง หนังสือรวบรวมผลงานการวิจัย
โครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก ปี 2526-2536 คณะกรรมการโครงการพัฒนาการใช้
สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล หน้า 185-195.
3. Weena Jiratchariyakul, Primchanien Moomgkarndi, Hikane Okabe, Frahm A.W. Investigation of
anticancer components from Murdania loriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy. Phama Indochina
1997; 171-191.
4. Intiyot Y, Kinouchi T, Kataoka K, Arimochi H, Kuwahara T, Vinitketkumnuen U, Ohnishi Y.
Antimutagenicity of Murdanis loriformis in the Salmonella mutation assay and its inhibitory effects on
azoxymethane-induced DNA methylation and aberrant crypt focus formation in male F344 rats. J.
Med. Invest. 49(1): 5-14.
5. Vinitketkumnuen U, Chewonarin T, Dhumtanom P, Lertpraseartsuk N, Wild CP. Aflatoxin-albumin
adduct formation after single and multiple doses of aflatoxin B1 in rats treated with Thai medicinal
plants. Mutat. Res. 1999; 48(1): 345-351.
6. วิริยา เจริญคุณธรรม, ปรัชญา คงทวีเลิศ, อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ การเหนี่ยวนำเอ็นไซม์ดีที-ไดอะฟอเรส
โดยสารสกัดจากหญ้าปักกิ่ง ใบมะกรูด และตะไคร้ เชียงใหม่เวชสาร 2537; 33(2): 71-77.
7. พิมลวรรณ ตันยุทธพิจารณ์, วัลลา รามนัฐจินดา, พรรณี พิเดช การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของหญ้า
ปักกิ่งในหนูขาว สารศิริราช 2534; 48: 458-66.
8. พิมลวรรณ ตันยุทธพิจารณ์, เพียงจิต สัตตบุศย์, พรรณี พิเดช พิษกึ่งเรื้อรังของหญ้าปักกิ่งในหนูขาว
สารศิริราช 2534; 48(8): 529-533.
………………………………………………………………………….

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

โดยทั่วไปแล้ว สตรีมักจะพบสิ่งผิดปกติของเต้านมได้ด้วยตนเองก่อนที่จะไปพบแพทย์ โดยเฉพาะการพบก้อน ตุ่มหรือไตแข็งผิดปกติที่เต้านม ดังนั้น โปรดอย่างนิ่งนอนใจควร รีบปรึกษาแพทย์ เพราะหากเป็นเนื้อร้ายหรือ มะเร็งเต้านม จะได้รับการรักษาทันท่วงที พึงจำไว้ว่ายิ่งพบความผิดปกติได้เร็วเพียงไร โอกาสในการักษาให้หายขาดและปลอดภัย ก็มีมากขึ้นเพียงนั้นวิธีที่จะช่วยให้สตรีได้พบสิ่งผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ในระยะหลังจากหมดประจำเดือนประมาณ 7 วัน ไม่ควรตรวจในช่วงที่เต้านมคัดตึง เพราะการตรวจอาจผิดพลาดได้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำดังนี้

ขั้นที่ 1 ตรวจในขณะอาบน้ำ
ขณะ อาบน้ำเป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและลื่นจะทำ ให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนี้วมือวาง ราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือ ในลักษณะคลึง เบาๆ ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหาก้อนหรือ เนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการ ตรวจเต้านมขั้นต่อไป
ขั้นที่ 2 การตรวจหน้ากระจก
ก. ยืนตรงมือแนบลำตัว แล้วยกแขนขึ้นสูงเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะของเต้านมเพราะการเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้น จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้ ข. ยกมือท้าวเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิด การเกร็งและหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตดูลักษณะ ที่ผิดปกติ
ขั้นที่ 3 การตรวจในท่านอน
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
ภาพที่ 3
นอนราบและยกมือข้าง หนึ่งไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง ตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วน ของเต้านม (ภาพที่ 1, 2 และ 3 )โดยเริ่มต้นที่จุดบริเวณส่วนนอกเหนือสุดของเต้านม (จุด X ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านม แล้วเคลื่อนมือเขยิบเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึง บริเวณหัวนม จากนั้น ค่อย ๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เพื่อสังเกตดูว่ามี น้ำเลือดน้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ อื่นใดออกมาหรือไม่เสร็จแล้ว ตรวจเต้านมอีกข้างหนึ่ง ในลักษณะเดียวกัน

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
เป็นการตรวจ สุขภาพทั่วไปในผู้ที่มีอาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่อง จากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้ เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีหลักการดังนี้

1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
มีความสำคัญเนื่องจาก อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น

1.1 ประวัติครอบครัว

มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับพันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม

มีข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิด ได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น

1.3ประวัติส่วนตัว

อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคลก็อาจเป็นเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมะเร็ง บางอย่าง เช่น
- ผู้ที่สูบบุรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่
- ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ , มีบุตรมากจะเป็น มะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน
- ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก
- เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง
- หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ
- การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ

1.4 ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ

- เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น
- ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
- เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย

2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด

ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อตรวจ หามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้
- ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน
- ศีรษะ และคอ
- ทรวงอก และเต้านม
- ท้อง
- อวัยวะเพศ
- ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่น ๆ

3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษา โรคมะเร็งด้วย ได้แก่
- การตรวจเม็ดเลือด
- การตรวจปัสสาวะ , อุจจาระ
- การตรวจเลือดทางชีวเคมี

3.2 การตรวจเอ๊กซเรย์

มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซี่งมีวิธีการหลายอย่างเช่น
- การเอ๊กซเรย์ปอด
เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ

- การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร

ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

- การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม

เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม

3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน , ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ,สมอง , ตับ , กระดูก เป็นต้น

3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ

เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่นหลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น

3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา

การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหา มะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ เช่น
- การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก , เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
- เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ

3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา

เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัด เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ ่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษา ได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกัน มิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตได้


 http://cancerthai.blogspot.com/

มะเร็งที่รักษาให้หายได้

มะเร็งที่รักษาให้หายได้
 
ปัจจุบันนี้ แพทย์สามารถรักษามะเร็งหลายชนิดให้หายได้ หรืออย่างน้อยก็ ทำให้ ผู้ป่วยมะเร็งมีชีวิตการอยู่รอดที่ยาวนานเท่ากับบุคคลปกติที่อยู่ในวัยเดียว กัน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็งที่พบ เพราะมะเร็งระยะ เริ่มแรกย่อมมีการตอบสนอง ต่อการรักษาหรือมีโอกาสหายมากกว่าระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย

มะเร็งต่าง ๆ ที่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบันนี้ ที่สำคัญ มีดังนี้


มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟไซติค ลิวคีเมีย

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกิ้น
มะเร็งไตในเด็กชนิด วิมส์ ทูเมอร์
มะเร็งลูกอัณฑะ
มะเร็งกระดูก ชนิด อ๊อสติโอเจนนิค ซาร์โคม่า
มะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว
มะเร็งผิวหนังบางชนิดเช่น Basal cell carcinoma
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอดชนิด Small cell
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งชนิดเนื้อเยื่อ Germ cell 


http://cancerthai.blogspot.com/

การรักษามะเร็งตามหลักสากลที่ปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทย

การรักษามะเร็งตามหลักสากลที่ปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทย
 
คือ การรักษามะเร็งแบบ วิธีผสมผสานของ ศัลยกรรม (ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง) รังสีรักษา (ฉายแสงบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นเดียวกับวิธี ของศัลยกรรม) เคมีบำบัด (การรักษาหรือการทำลายเซลล์มะเร็งทั้งที่ต้นตอและที่กระจาย ไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย เป็นการรักษามะเร็ง แบบทั้งตัวของผู้ป่วยมะเร็ง โดยการรับประทานยาที่มีความสามารถในการฆ่า หรือทำลาย เซลล์มะเร็ง ฉีดยาทางหลอดเลือดดำหรือแดง เป็นต้น) การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากมะเร็งบางชนิดมีความไวต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน และการรักษาโดยการเพิ่ม ภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้กำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกาย และผู้ป่วยก็จะหายจากโรคมะเร็ง
เนื่องจากการรักษา โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายนี้ยังอยู่ ระหว่างการศึกษาอยู่ต้องการข้อมูลอีกมากมายเพื่อยืนยันว่า ได้ผลในการรักษามะเร็ง
ดังนั้นวิธีหลังนี้จึงเริ่ม เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แต่มีการนำยาหรือสารเคมีในกลุ่มนี้ ้มาใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด เพื่อให้การรักษาดีขึ้น มะเร็งแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชนิดจะได้รับ การรักษาแบบผสมผสานที่ไม่เหมือนกัน เพราะว่ามะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อการ รักษาทางศัลยกรรมและรังสีรักษาดี เช่น มะเร็งผิวหนัง ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด หรืออื่น ๆ มะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อเคมีบำบัด และรังสีรักษาดีไม่จำเป็นต้องใช้ วิธีศัลยกรรม เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น มะเร็งเต้านม ในผู้ป่วย บางกลุ่มโดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหลังหมดระดูจะมีการตอบสนองต่อการรักษา โดยการใช้ ฮอร์โมนหลังจากที่ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งต้นตอออกไปแล้ว
ดังนั้น จะเห็นว่าการรักษามะเร็งแต่ละชนิด หรือการรักษามะเร็งแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างกันแม้แต่การผสมผสานวิธีการรักษามะเร็ง แต่ละวิธีก็ไม่เหมือนกัน

รู้จักอาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง

รู้จักอาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง
 
1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการ ในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่

1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด

2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล 

1.มะเร็งคืออะไร

 มะเร็งคืออะไร
มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เซลล์เจริญ(แบ่งตัว) อย่างผิดปกติ การที่เซลล์เปลี่ยนสภาพไปจากปกติจะไม่อยู่ในการควบคุมวัฏจักรการแบ่งตัว รุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง หรืออาจแพร่กระจายไปยังที่อื่น ๆ (การแพร่กระจายของเนื้อร้าย) ลักษณะทั้งสามประการที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของเนื้อร้ายซึ่งต่างจาก เนื้องอก ซึ่งไม่ร้ายแรงเพราะไม่รุกรานหรือแพร่กระจาย และขนาดจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มะเร็งทั้งหมดยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ


มะเร็งเกิดขึ้นได้โดยสารพันธุกรรมหรือยีนซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ผิดปกติไป โดยที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรมนั้นเป็นผลมาจากสารก่อมะเร็ง อาทิ ยาสูบ ควัน รังสี สารเคมีอย่างอื่น หรือ เชื้อโรค ยีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำเพาะเจาะจงระหว่างการทำสำเนาของดีเอ็นเอ หรืออาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในทุกเซลล์หลังจากคลอด การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมะเร็งนั้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอย่างอื่นๆ ด้วย


นักวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมาเลเซียได้พบว่า ฟักทองสามารถสะกดเซลล์มะเร็งเพราะฟักทองมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้แป้งเป็นของที่ไม่อาจจะย่อยได้ จึงหมักพวกแบคทีเรียเอาไว้ และบ่อน ทำลายเซลล์มะเร็งให้อ่อนแอ


นักวิจัยที่อังกฤษ ดร.กิลเลียน รีฟส์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยกลางคนในอังกฤษราว 6,000 คน เป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความอ้วน โดยงานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างน้ำหนักกับโอกาสเสี่ยงที่เป็นมะเร็งนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้หญิงด้วย และทางกองทุนวิจัยมะเร็งโลก ผู้ประกาศเตือนว่า ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง ดังต่อไปนี้ คือ มะเร็งมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งที่ไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งทรวงอก มะเร็งไขกระดูก มะเร็งที่ตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิ้น และมะเร็งรังไข่


มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า อัตราการเป็นมะเร็งทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมาก มีมากในกลุ่มคนที่ทำงานตอนกลางคืน


มะเร็งกำเนิดจากเซลล์ร่างกายที่สามารถแบ่งเซลล์ได้วิวัฒนาการจนไม่สามารถควบคุมได้ มีกระบวนการวิวัฒนาการโดยการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมนั้นๆทำให้ผลิตเอนไซม์มาสร้างทีโลเมียในเซลล์อย่างไม่หมดสิ้นทำให้เซลล์ไม่สามารถหยุดแบ่งเซลล์ได้ เพิ่มเติม ทีโลเมียเปรียบเหมือนนาฬิกาทีนับถอยหลังไปเรื่อยๆขณะนั้นเซลล์ยังสามารถแบ่งเซลล์ต่อไปโดยทีโลเมียจะหดสั้นลงเรื่อยๆและเมื่อสายทีโลเมียหมดก็จะทำให้เซลล์หยุดแบ่งตัวทำให้มนุษย์ไม่สามารถอยู่ยงคงกระพันต้องหยุดเจริญเติบโต แต่ทีโลเมียของเซลล์มะเร็งไม่หดสั้นลงทำให้เติบโตโดยควบคุมหยุดยั้งไม่ได้

มะเร็งในประเทศไทย


ในพ.ศ. 2549 ประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 66,000 ราย โดยในผู้ชายพบมะเร็งปอดมากที่สุด 5,535 ราย รองลงมาคือโรคมะเร็งตับ ส่วนผู้หญิงพบมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด 1,484 ราย รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม

อาหารต้านมะเร็ง


นักวิจัยเชื่อว่า พฤติกรรมการดำรงชีวิตมีสัมพันธ์ต่อปัจจัยความเสี่ยงของโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก นักวิจัยยังเชื่ออีกว่าการ กว่า หกสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรงมะเร็งทั้งหมด อาจจะไม่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ ถ้าหากยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการพฤติกรรม การกินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างมาก อาหารบางประเภท มีสารที่ต้านอนุมูลอิสระได้สูงและป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี เราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารต้านมะเร็ง บร็อคโคลี่, อโวคาโด ,แครอท, และ กระเทียม เป็นหนึ่งในอาหารต้านมะเร็งที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง 
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่
 1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น
      - สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin)
      - สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon)
      - สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine)
      - สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
 1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
 1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
 1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
 1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
 1.6 สาเหตุอื่น ๆ ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ เช่น มลภาวะจากสิ่งแวดล้อม, สารอนุมูลอิสระ

2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น
    - เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
    - การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
    - ภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น

ในภาวะปกติการดีเอ็นเอที่เสียหายจะมีระบบซ่อมแซมและเซลล์ที่กลายพันธุ์จะถูก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายทิ้งหากร่างกายอ่อนแอและระบบภูมิคุ้มกันไม่ ดี เช่น
ภาวะขาดสารอาหาร ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานานจนไม่สามารถคืนสู่สภาวะปกติได้และกลายพันธุ์แบ่งเป็นสองแบบคือ
 1) เพิ่มการทำงานของยีนก่อมะเร็ง ( oncogene  ) มากขึ้นซึ่งยีนนี้ในภาวะปกติจะมีหน้าที่หลักในการควบคุมการแบ่งตัวและการ เจริญเติบโตของเซลล์
     หากมีมากขึ้นจะทำให้เซลล์แบ่งตัวแบบควบคุมไม่ได้ หรือ
 2) มีการทำลายส่วนของยีนที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ( tumor suppressor gene ) ทำให้ยีนนี้เสียหน้าที่ไป จึงไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่มากเกิน

ดังนั้นจะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้ มะเร็ง ก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987)
ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น
  - งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่
  - หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
และต้องรู้จักการดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น
  - เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด
  - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  - รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑฑ์ปกติ โดยคิดจากดัชนีความหนาของร่างกาย (BMI/Body mass index)
  - การบริโภคผักและผลไม้ วันละ 400-800 กรัม
  - รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง

สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป
กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี


อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง

1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการ ในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน 

สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่

1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด

2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล 


การรักษามะเร็งตามหลักสากลที่ปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทย

คือ การรักษามะเร็งแบบ วิธีผสมผสานของ ศัลยกรรม (ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง) รังสีรักษา (ฉายแสงบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นเดียวกับวิธี ของศัลยกรรม) เคมีบำบัด (การรักษาหรือการทำลายเซลล์มะเร็งทั้งที่ต้นตอและที่กระจาย ไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย เป็นการรักษามะเร็ง แบบทั้งตัวของผู้ป่วยมะเร็ง โดยการรับประทานยาที่มีความสามารถในการฆ่า หรือทำลาย เซลล์มะเร็ง ฉีดยาทางหลอดเลือดดำหรือแดง เป็นต้น) การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากมะเร็งบางชนิดมีความไวต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน และการรักษาโดยการเพิ่ม ภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้กำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกาย และผู้ป่วยก็ ็จะหายจากโรคมะเร็ง

เนื่องจากการรักษา โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายนี้ยังอยู่ ระหว่างการศึกษาอยู่ต้องการข้อมูลอีกมากมายเพื่อยืนยันว่า ได้ผลในการรักษามะเร็ง

ดังนั้นวิธีหลังนี้จึงเริ่ม เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แต่มีการนำยาหรือสารเคมีในกลุ่มนี้ ้มาใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด เพื่อให้การรักษาดีขึ้น มะเร็งแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชนิดจะได้รับ การรักษาแบบผสมผสานที่ไม่เหมือนกัน เพราะว่ามะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อการ รักษาทางศัลยกรรมและรังสีรักษาดี เช่น มะเร็งผิวหนัง ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด หรืออื่น ๆ มะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อเคมีบำบัด และรังสีรักษาดีไม่จำเป็นต้องใช้ วิธีศัลยกรรม เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น มะเร็งเต้านม ในผู้ป่วย บางกลุ่มโดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหลังหมดระดูจะมีการตอบสนองต่อการรักษา โดยการใช้ ฮอร์โมนหลังจากที่ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งต้นตอออกไปแล้ว

ดังนั้น จะเห็นว่าการรักษามะเร็งแต่ละชนิด หรือการรักษามะเร็งแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างกันแม้แต่การผสมผสานวิธีการรักษามะเร็ง แต่ละวิธีก็ไม่เหมือนกัน
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ

ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ