มะเร็งคืออะไร
มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เซลล์เจริญ(แบ่งตัว) อย่างผิดปกติ การที่เซลล์เปลี่ยนสภาพไปจากปกติจะไม่อยู่ในการควบคุมวัฏจักรการแบ่งตัว รุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง หรืออาจแพร่กระจายไปยังที่อื่น ๆ (การแพร่กระจายของเนื้อร้าย) ลักษณะทั้งสามประการที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของเนื้อร้ายซึ่งต่างจาก เนื้องอก ซึ่งไม่ร้ายแรงเพราะไม่รุกรานหรือแพร่กระจาย และขนาดจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มะเร็งทั้งหมดยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อมะเร็งเกิดขึ้นได้โดยสารพันธุกรรมหรือยีนซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ผิดปกติไป โดยที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรมนั้นเป็นผลมาจากสารก่อมะเร็ง อาทิ ยาสูบ ควัน รังสี สารเคมีอย่างอื่น หรือ เชื้อโรค ยีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำเพาะเจาะจงระหว่างการทำสำเนาของดีเอ็นเอ หรืออาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในทุกเซลล์หลังจากคลอด การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมะเร็งนั้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอย่างอื่นๆ ด้วย
นักวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมาเลเซียได้พบว่า ฟักทองสามารถสะกดเซลล์มะเร็งเพราะฟักทองมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้แป้งเป็นของที่ไม่อาจจะย่อยได้ จึงหมักพวกแบคทีเรียเอาไว้ และบ่อน ทำลายเซลล์มะเร็งให้อ่อนแอ
นักวิจัยที่อังกฤษ ดร.กิลเลียน รีฟส์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยกลางคนในอังกฤษราว 6,000 คน เป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความอ้วน โดยงานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างน้ำหนักกับโอกาสเสี่ยงที่เป็นมะเร็งนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้หญิงด้วย และทางกองทุนวิจัยมะเร็งโลก ผู้ประกาศเตือนว่า ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง ดังต่อไปนี้ คือ มะเร็งมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งที่ไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งทรวงอก มะเร็งไขกระดูก มะเร็งที่ตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิ้น และมะเร็งรังไข่
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า อัตราการเป็นมะเร็งทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมาก มีมากในกลุ่มคนที่ทำงานตอนกลางคืน
มะเร็งกำเนิดจากเซลล์ร่างกายที่สามารถแบ่งเซลล์ได้วิวัฒนาการจนไม่สามารถควบคุมได้ มีกระบวนการวิวัฒนาการโดยการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมนั้นๆทำให้ผลิตเอนไซม์มาสร้างทีโลเมียในเซลล์อย่างไม่หมดสิ้นทำให้เซลล์ไม่สามารถหยุดแบ่งเซลล์ได้ เพิ่มเติม ทีโลเมียเปรียบเหมือนนาฬิกาทีนับถอยหลังไปเรื่อยๆขณะนั้นเซลล์ยังสามารถแบ่งเซลล์ต่อไปโดยทีโลเมียจะหดสั้นลงเรื่อยๆและเมื่อสายทีโลเมียหมดก็จะทำให้เซลล์หยุดแบ่งตัวทำให้มนุษย์ไม่สามารถอยู่ยงคงกระพันต้องหยุดเจริญเติบโต แต่ทีโลเมียของเซลล์มะเร็งไม่หดสั้นลงทำให้เติบโตโดยควบคุมหยุดยั้งไม่ได้
มะเร็งในประเทศไทย
ในพ.ศ. 2549 ประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 66,000 ราย โดยในผู้ชายพบมะเร็งปอดมากที่สุด 5,535 ราย รองลงมาคือโรคมะเร็งตับ ส่วนผู้หญิงพบมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด 1,484 ราย รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม
อาหารต้านมะเร็ง
นักวิจัยเชื่อว่า พฤติกรรมการดำรงชีวิตมีสัมพันธ์ต่อปัจจัยความเสี่ยงของโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก นักวิจัยยังเชื่ออีกว่าการ กว่า หกสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรงมะเร็งทั้งหมด อาจจะไม่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ ถ้าหากยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการพฤติกรรม การกินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างมาก อาหารบางประเภท มีสารที่ต้านอนุมูลอิสระได้สูงและป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี เราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารต้านมะเร็ง บร็อคโคลี่, อโวคาโด ,แครอท, และ กระเทียม เป็นหนึ่งในอาหารต้านมะเร็งที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่
1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น
- สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin)
- สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon)
- สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine)
- สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
1.6 สาเหตุอื่น ๆ ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ เช่น มลภาวะจากสิ่งแวดล้อม, สารอนุมูลอิสระ
2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น
- เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
- ภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น
ในภาวะปกติการดีเอ็นเอที่เสียหายจะมีระบบซ่อมแซมและเซลล์ที่กลายพันธุ์จะถูก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายทิ้งหากร่างกายอ่อนแอและระบบภูมิคุ้มกันไม่ ดี เช่น
ภาวะขาดสารอาหาร ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานานจนไม่สามารถคืนสู่สภาวะปกติได้และกลายพันธุ์แบ่งเป็นสองแบบคือ
1) เพิ่มการทำงานของยีนก่อมะเร็ง ( oncogene ) มากขึ้นซึ่งยีนนี้ในภาวะปกติจะมีหน้าที่หลักในการควบคุมการแบ่งตัวและการ เจริญเติบโตของเซลล์
หากมีมากขึ้นจะทำให้เซลล์แบ่งตัวแบบควบคุมไม่ได้ หรือ
2) มีการทำลายส่วนของยีนที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ( tumor suppressor gene ) ทำให้ยีนนี้เสียหน้าที่ไป จึงไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่มากเกิน
ดังนั้นจะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้ มะเร็ง ก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987)
ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น
- งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
และต้องรู้จักการดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑฑ์ปกติ โดยคิดจากดัชนีความหนาของร่างกาย (BMI/Body mass index)
- การบริโภคผักและผลไม้ วันละ 400-800 กรัม
- รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง
สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป
กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี
อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง
1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการ ในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการ ในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่
1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล
1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล
การรักษามะเร็งตามหลักสากลที่ปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทย
คือ การรักษามะเร็งแบบ วิธีผสมผสานของ ศัลยกรรม (ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง) รังสีรักษา (ฉายแสงบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นเดียวกับวิธี ของศัลยกรรม) เคมีบำบัด (การรักษาหรือการทำลายเซลล์มะเร็งทั้งที่ต้นตอและที่กระจาย ไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย เป็นการรักษามะเร็ง แบบทั้งตัวของผู้ป่วยมะเร็ง โดยการรับประทานยาที่มีความสามารถในการฆ่า หรือทำลาย เซลล์มะเร็ง ฉีดยาทางหลอดเลือดดำหรือแดง เป็นต้น) การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากมะเร็งบางชนิดมีความไวต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน และการรักษาโดยการเพิ่ม ภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้กำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกาย และผู้ป่วยก็ ็จะหายจากโรคมะเร็ง
เนื่องจากการรักษา โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายนี้ยังอยู่ ระหว่างการศึกษาอยู่ต้องการข้อมูลอีกมากมายเพื่อยืนยันว่า ได้ผลในการรักษามะเร็ง
ดังนั้นวิธีหลังนี้จึงเริ่ม เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แต่มีการนำยาหรือสารเคมีในกลุ่มนี้ ้มาใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด เพื่อให้การรักษาดีขึ้น มะเร็งแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชนิดจะได้รับ การรักษาแบบผสมผสานที่ไม่เหมือนกัน เพราะว่ามะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อการ รักษาทางศัลยกรรมและรังสีรักษาดี เช่น มะเร็งผิวหนัง ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด หรืออื่น ๆ มะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อเคมีบำบัด และรังสีรักษาดีไม่จำเป็นต้องใช้ วิธีศัลยกรรม เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น มะเร็งเต้านม ในผู้ป่วย บางกลุ่มโดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหลังหมดระดูจะมีการตอบสนองต่อการรักษา โดยการใช้ ฮอร์โมนหลังจากที่ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งต้นตอออกไปแล้ว
ดังนั้น จะเห็นว่าการรักษามะเร็งแต่ละชนิด หรือการรักษามะเร็งแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างกันแม้แต่การผสมผสานวิธีการรักษามะเร็ง แต่ละวิธีก็ไม่เหมือนกัน
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
![]() |
ภาพตัวอย่างมะเร็งแบบต่างๆ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น