วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

โดยทั่วไปแล้ว สตรีมักจะพบสิ่งผิดปกติของเต้านมได้ด้วยตนเองก่อนที่จะไปพบแพทย์ โดยเฉพาะการพบก้อน ตุ่มหรือไตแข็งผิดปกติที่เต้านม ดังนั้น โปรดอย่างนิ่งนอนใจควร รีบปรึกษาแพทย์ เพราะหากเป็นเนื้อร้ายหรือ มะเร็งเต้านม จะได้รับการรักษาทันท่วงที พึงจำไว้ว่ายิ่งพบความผิดปกติได้เร็วเพียงไร โอกาสในการักษาให้หายขาดและปลอดภัย ก็มีมากขึ้นเพียงนั้นวิธีที่จะช่วยให้สตรีได้พบสิ่งผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ในระยะหลังจากหมดประจำเดือนประมาณ 7 วัน ไม่ควรตรวจในช่วงที่เต้านมคัดตึง เพราะการตรวจอาจผิดพลาดได้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำดังนี้

ขั้นที่ 1 ตรวจในขณะอาบน้ำ
ขณะ อาบน้ำเป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและลื่นจะทำ ให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนี้วมือวาง ราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือ ในลักษณะคลึง เบาๆ ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหาก้อนหรือ เนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการ ตรวจเต้านมขั้นต่อไป
ขั้นที่ 2 การตรวจหน้ากระจก
ก. ยืนตรงมือแนบลำตัว แล้วยกแขนขึ้นสูงเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะของเต้านมเพราะการเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้น จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้ ข. ยกมือท้าวเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิด การเกร็งและหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตดูลักษณะ ที่ผิดปกติ
ขั้นที่ 3 การตรวจในท่านอน
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
ภาพที่ 3
นอนราบและยกมือข้าง หนึ่งไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง ตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วน ของเต้านม (ภาพที่ 1, 2 และ 3 )โดยเริ่มต้นที่จุดบริเวณส่วนนอกเหนือสุดของเต้านม (จุด X ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านม แล้วเคลื่อนมือเขยิบเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึง บริเวณหัวนม จากนั้น ค่อย ๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เพื่อสังเกตดูว่ามี น้ำเลือดน้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ อื่นใดออกมาหรือไม่เสร็จแล้ว ตรวจเต้านมอีกข้างหนึ่ง ในลักษณะเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น